อ่านแล้วอาจจะงงๆนะครับ แต่ยังไงการให้อากาศกับปลาที่เราเลี้ยงก็มีความสำคัญ จิงหยิบเอาบทความดีๆจากคุณ Rof แห่ง genepoolaquarium
มาให้ได้อ่านกันนะครับ
ระบบกรองและการให้อากาศในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามกาซออกซิเจน (O2) เป็นสิ่งที่จำเป็นสูงสุดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้ง ปลา
คุณสมบัติของออกซิเจนต่อการเลี้ยงปลานั้นมีดังนี้
1 เป็นกาซที่ใช้ในการหายใจของปลาโดยตรง
2 มีคุณสมบัตเป็นสารออกซิไดซ์ สามารถ ออกซิไดซ์สารพิษบางตัวในน้ำได้
3 ช่วยในการย่อยสลายของเสียในน้ำ ในการย่อยสลายของเสียของแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน
4 เป็นบัพเฟอร์ในน้ำสามารถควบคุม pH ได้บ้างบางส่วน
5 ลดการละลายของกาซอื่นๆในน้ำ เนื่องจากออกซิเจนมีความสามารถในการละลายสูงมาก
ใน ธรรมชาตินั้น ปลาจะได้รับออกซิเจนจากวิธีทางธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ เพราะปลาจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ หรือบริเวณที่มี ออกซิเจนเพียงพอ ต่อความต้องการของมัน ในแต่ละชนิด แต่การที่เรานำปลาเข้ามาเลี้ยงในตู้ปลา หรือในบ่อปลา เรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่ม ออกซิเจน ลงไปในน้ำ เนื่องจาก ในที่กักขังนั้น น้ำ จะสามารถแลกเปลี่ยน ออกซิเจนกับ อากาศ ได้น้อยมาก เนื่องจากมีผิวสัมผัสที่น้อย และบริเวณจำกัด อีกทั้งยังมีการย่อยสลายของของเสียที่ขับออกมาจากตัวปลา ซึ่งมีขบวนการที่ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายอีกด้วย ทำให้ออกซิเจนในที่กักขังมักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในการดำรงชีวิตของ ปลา ทำให้เรามีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม ออกซิเจนลงในที่เลี้ยงปลาของเรา นอกจากนั้น เรายังสามารถเลี้ยงปลาได้ในปริมาณที่มากขึ้นอีกด้วย เมื่อเทียบปริมาตรต่อหน่วย กับในธรรมชาติ
วิธีการในการให้ออกซิเจนกับ ปลาในที่เลี้ยง ในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามนั้น มีหลายวิธีในการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำที่ใช้เลี้ยง การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้น แล้วแต่ความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ เช่น รูปแบบ ขนาดของที่ที่ใช้เลี้ยง ก็ควรชนิด อายุ และขนาดของปลา ความหนาแน่นในการเลี้ยง เช่น ปลาบางชนิดไม่จำเป็นต้องมีการให้อากาศในน้ำเพิ่มเติม เช่นในปลากลุ่มก่อหวอด เช่นปลากัด ปลากระดี่ แม้ว่าจะเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนหลายตัวก็ตาม ในกลุ่มปลาหมอสีครอสบรีด ต้องการระดับออกซิเจนปานกลาง กลุ่มปลาน้ำไหล เช่นปลาซิว ปลาติดหิน ต้องการออกซิเจนในปริมาณที่สูง ส่วนปลาบางประเภทจะมีความไวต่อระดับออกซิเจนในน้ำสุงมาก เช่นปลาปอมปาดัวร์ ปลาเสือตอปลาเทวดาเป็นต้น
1 วิธีทางเคมี โดยใส่สารเคมีที่มีการแตกตัวให้ออกซิเจนแก่น้ำ เช่นสารพวก เปอร์ออกไซด์ และ ซุปเปอร์ออกไซด์ ในท้องตลาดเรียก ออกซิเจนผง หรืออาจใช้โอโซน ซึ่งสามารถ แตกตัวเป็น ออกซิเจนได้เป็นต้น วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำได้รวดเร็ว เฉียบพลัน เหมาะกับการใช้ในกรณีฉุกเฉิน ข้อเสียคือ จะมีสารตกค้างในน้ำ เช่น แคลเซียม ซึ่งจะทำให้น้ำกระด้าง และการเพิ่มออกซิเจนในน้ำแบบเฉียบพลัน อาจเป็นอันตรายต่อปลาโดยตรงได้
2 วิธีทางชีวะ โดยใช้พืชน้ำ เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนให้กับแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น สาหร่าย พรรณไม้น้ำสวยงาม หรือแม้แต่ ตะไคร่น้ำ ก็สามารถเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำได้ทั้งสิ้น แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอต่อการสร้างออกซิเจนของพืชน้ำแต่ละชนิด วิธีนี้มีข้อดีคือ พืชน้ำจะให้ออกซิเจน ในรูปแบบของ ออกซิเจนบริสุทธิ์ ไม่มีสารตกค้างใดๆ และเป็นวิธีเดียวที่สามารถ ทำให้น้ำมีออกซิเจนละลายอยู่ เกินจุดอิ่มตัวได้ ข้อเสียคือ พืชน้ำ จะให้ออกซิเจนแก่น้ำได้ ในบริเวณที่มีแสงเพียงพอเท่านั้น ส่วนในเวลาที่มีแสงไม่เพียงพอ พืชน้ำจะไปแย่งออกซิเจนจากน้ำมาแทน และการที่น้ำมีออกซิเจนละลายอยู่เกินจุดอิ่มตัว อาจทำให้ปลามีอาการผิดปกติเช่น เกิด Air bubble disease ได้
3 วิธีกล วิธีการนี้มีหลักการง่ายๆคือ การเพิ่มพื้นที่ ผิวสัมผัสน้ำ กับอากาศ หรือเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ กับน้ำ ให้ได้มากที่สุด และนานที่สุด เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนจากอากาศกับน้ำได้สูงสุดนั่นเอง วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถให้ออกซิเจนแก่น้ำได้อย่างต่อเนื่อง ในปริมาณที่สามารถควบคุมได้ และไม่มีสารตกค้างใดๆ ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้พลังงานกลที่ต่อเนื่องซึ่งส่วนใหญ่จะเปลียนรูปมาจากพลังงานไฟฟ้า เช่น เครื่องแอร์ปัมพ์ เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
ในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม นั้น ไม่ว่าจะเป็นในตู้ หรือในบ่อ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีกลเนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สะดวก และตอบรับกับวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงได้เป็นอย่างดี
การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจก การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกนั้น จะใช้ในการเพาะเลี้ยงปลาที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดปานกลาง ทั้งนี้และทั้งนั้น ปลาดังกล่าว ต้องมีความสามารถในการปรับตัว ยอมรับ และสามารถสืบพันธุ์ในตู้กระจกได้ ปลาประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด เช่น ปลาในครอบครัวปลาหมอสี เกือบทุกชนิด กลุ่มปลาตะเพียนขนาดเล็กเป็นต้น ซึ่งจะมีรูปแบบการให้อากาศตามลักษณะของตู้ปลา สองรูปแบบคือ
1) การดึงอากาศลงไปสัมผัสกับน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันแพร่หลาย โดยใช้ เครื่องปัมพ์อากาศ ส่งอากาศผ่านสายยางขนาดเล็ก ผ่านหัวทรายลงสู่น้ำ หรืออาจผ่านท่อพลาสติกซึ่งติดอยู่กับระบบกรองใต้ทราย ซึ่งความสามารถในการให้ออกซิเจนแก่น้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1.1 ปริมาณของฟองอากาศ ยิ่งมีปริมาณมากขึ้น ก็จะสามารถแลกเปลี่ยนกาซออกซิเจนได้ดีขึ้น
1.2 ขนาดของฟองอากาศ ยิ่งฟองอากาศมีขนาดเล็ก ละเอียดเท่าใด ก็จะสามารถแลกเปลี่ยนกาซออกซิเจนได้ดีขึ้น
1.3 ระยะเวลาและความต่อเนื่องของฟองอากาศที่สัมผัสกับน้ำ ยิ่งฟองอากาศสัมผัสกับน้ำนานเท่าใด การแลกเปลี่ยนกาซก็จะเกิดมาขึ้นตามไปด้วย ปกติ ฟองอากาศขนาดเล็กจะอยู่ในน้ำได้นานกว่าฟองขนาดใหญ่
1.4 อุณหภูมิ ออกซิเจน มีความสามารถในการละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง น้อยกว่าในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
ใน ระบบการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามขนาดใหญ่ จะนิยมใช้ปัมพ์ลมขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว แล้วเดินท่อพีวีซีขนาดเล็ก ไปตามแนวที่วางตู้ปลา แล้วต่อสายยางลมขนาดเล็กลงสู่ตู้ปลาโดยมีวาวล์ปรับความแรงลมขนาดเล็ก ไว้ควบคุมทุกๆจุดที่ต่อสายยาง
2) การดึงน้ำขึ้นมาสัมผัสกับอากาศ วิธีนี้ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการให้อากาศในตู้ซึ่งจะมีหลักการแบบเดียวกับวิธีแรก แต่วิธีการต่างกัน การให้อากาศแบบนี้ นิยมใช้กับตู้ที่มีระบบกรองด้านข้าง ซึ่งจะมีการใช้ปัมพ์น้ำ ในการสูบน้ำ ผ่านระบบกรองข้างตู้ซึ่งจะเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนกาซเกิดขึ้น ความสามารถในการแลกเปลียนกาซจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
2.1 วัสดุกรอง วัสดุกรองที่จะสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกาซสูงสุด ต้องมีพื้นผิวที่มากตามไปด้วย แต่พื้นผิวดังกล่าว ต้องเป็นพื้นผิวที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอ ที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนกาซ ยกตัวอย่างเช่น ไบโอบอล กับ ปะการังหรือเซรามิคซ์ ถึงแม้ว่า ปะการังจะมีรูพรุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งหมายถึงการมีพื้นที่ผิวมากตามไปด้วย ซึ่งจะมีมากกว่าไบโอบอล ในปริมาตรที่เท่ากัน แต่จะเห็นว่า ปะการังนั้น มีรูพรุนขนาดที่เล็กเกินไป ซึ่งเล็กเกินกว่าที่จะมีพื้นที่เพียงพอที่จะให้น้ำและอากาศเข้าไปพร้อมๆกัน ได้ แต่ในไบโอบอล จะเห็นว่า มีพื้นที่กว้างเพียงพอในการแลกเปลี่ยนกาซ ดังนั้นวัสดุกรองทั้งสองอย่างถึงแม้จะมีคุณสมบัติคล้ายๆกัน แต่ก็มีหน้าที่หลักต่างกัน ปะการังหรือเซรามิคซ์ จึงมีหน้าที่หลักในการเป็นที่อาศัยของแบคทีเรีย ในขณะที่ไบโอบอล จะมีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนกาซให้กับตู้ปลา
2.2 ระยะเวลาที่น้ำสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสูงของชั้นกรอง โดยเฉพาะชั้นไบโอบอล ยิ่งมีความสูงมากเท่าไร ก้อจะมีโอกาสในการแลกเปลียนกาซมากขึ้นเท่านั้น
2.3 ความแรงของปัมพ์น้ำ ถ้าปัมพ์น้ำที่ใช้ มีกำลังสูบน้ำสูง จะทำให้น้ำไหลผ่านชั้นกรองได้ในปริมาตรที่มากขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนกาซสูงขึ้นตามไปด้วย
2.4 อุณหภูมิ ออกซิเจน มีความสามารถในการละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง น้อยกว่าในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในบ่อปลา สวยงามที่นิยมเพาะเลี้ยงในบ่อนั้นมีหลายชนิดมากมาก จนอาจกล่าวได้ว่าแทบทุกชนิด สมารถเพาะขยายพันธุ์ในบ่อได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความสะดวกในการทำงาน ความคุ้มทุน ปริมาณปลา เป็นต้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
1) บ่อดิน ปลาที่นิยมเพาะขยายพันธุ์ในบ่อดิน จะเป็นการเพาะแบบวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาแรด ปลาตะพัด โดยปกติแล้ว มักไม่ค่อยมีการให้อากาศเพิ่มเติม แต่เพื่อผลผลิต และคุณภาพน้ำที่ดี เราสามารถทำได้โดยใช้ปัมพ์ลมขนาดใหญ่ ปล่อยลมลงสู่บ่อโดยตรงผ่าน ท่อพีวีซี โดยไม่ต้องมีหัวทราย
2) บ่อปูน ปลาที่นิยมเพาะเลี้ยงในบ่อปูนนั้นมีมากมายหลายชนิด นับตั้งแต่ปลาขนาดเล็ก เช่นกลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว ปลาทอง ปลากัด ปลาขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เช่น ปลาหมอสี ปลาแฟนซีคาร์พ เป็นต้น การให้อากาศในบ่อปูนนั้น มีหลักการเหมือนกับ การให้อากาศในตู้ปลาในบ่อขนาดเล็ก ซึ่งมีการใช้หัวทรายเป่าลมลงไปโดยตรง หรือ มีระบบกรอง เพื่อกรองของเสียและแลกเปลียนกาซ เพียงแต่แตกต่างกันตรงที่ในบ่อขนาดใหญ่ ถ้าบ่อมีความลึกมาก จำเป็นต้องใช้สายยางขนาดใหญ่ และหัวทรายที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วยจึงจะมีแรงดันเพียงพอที่จะปล่อยฟองอากาศ ออกมาได้ และ อาจมีการใช้เครื่องสูบน้ำพ่นน้ำจากบ่อขึ้นมาสัมผัสอากาศโดยตรง หรือจะปล่อยในแนวราบเพื่อประโยชน์ในการไหลเวียนน้ำอีกด้วย
ตัวอย่างการทำกรองใช้เองครับ